ReFS partition กับ Windows OS

ReFS Partition (Resilient File System) ถือเป็น Partition ล่าสุดที่ทาง Microsoft ออกแบบมา ภายหลัง NTFS ที่ออกมานานแล้ว โดยมีจุดประสงค์หลัก เพื่อจัดเก็บไฟล์ขนาดใหญ่ หรือจัดการพื้นที่ขนาดใหญ่ โดยมีความยืดหยุ่นในการขยายพื้นที่ได้ และเหมาะกับการใช้บน Partition ที่เก็บข้อมูลเป็นหลัก ซึ่งข้อดีของ Partition แบบนี้ คือ

  • รองรับชื่อไฟล์ที่ยาวเป็นพิเศษ

  • รองรับฮาร์ดดิสก์ขนาดใหญ๋เป็นพิเศษ ได้ถึงขนาด 35 PB (1 PB = 1,000 TB)

  • มีระบบป้องกันการเสียหายของข้อมูล คล้ายระบบ RAID แต่เป็นการทำในระดับ Software ทำให้ไม่จำเป็นต้องมี การใช้ คำสั่ง Chkdsk กับ Partition ชนิดนี้อีกต่อไป

อย่างไรก็ดี ReFS ก็มีข้อเสียบางอย่าง ซึ่งทำให้ ไม่สามารถทดแทน NTFS ได้เต็มที่ ก็คือ

  • ฮาร์ดดิสก์ที่เป็น ReFS จะไม่สามารถ Boot ได้

  • ไม่สามารถทำ compression ได้

  • ไม่สามารถทำ encryption ได้

  • ไม่รองรับการใช้งาน Page File

  • ไม่รองรับชื่อไฟล์แบบสั้น

  • Removable storage ไม่สามารถสร้าง Partition แบบ ReFS ได้

  • ไม่สามารถ convert ไป-กลับ ระหว่าง Partition ชนิดอื่น กับ ReFS ได้

ReFS เริ่มมีใช้งานใน Windows Server 2016 และ Windows Server 2019 คือเริ่มในฝั่งเครื่องที่เป็น Server ก่อน จากนั้น ค่อยขยายมาอยู่ในเครื่องที่เป็นฝั่ง Client โดยเริ่มที่ Windows 8.1 แต่พอมีการพัฒนาเป็น Windows 10 ได้มีการตัดออกไป อย่างไรก็ดี ความสามารถนี้ ก็ถูกจับใส่ไว้ เฉพาะใน Windows 10 Enterprise กับ Windows 10 for Workstation

ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่