2.แก้ไข Script สำหรับใช้ในการโหลดส่วนโปรแกรมและติดตั้ง หรือใช้ระบบช่วยในการสร้าง Script

Script ถือเป็นส่วนสำคัญ ในการสั่งโหลดและติดตั้งโปรแกรม ให้ตรงตามที่เราต้องการ

โปรแกรมในเวอร์ชันเก่า ถูกออกแบบมาให้สามารถเลือกลง โปรแกรมย่อยทั้งหมด หรือบางส่วนได้ ในขณะที่เริ่มติตตั้ง แต่สำหรับ เวอร์ชัน 2019 ขึ้นไปนั้น Microsoft มองว่า มีหลายครั้ง ทีบางองค์กร ต้องการให้ บางหน่วยงาน ติดตั้งโปรแกรมย่อยเฉพาะบางโปรแกรม โดยแต่ละหน่วยงาน มีข้อกำหนด และโปรแกรมที่ต้องการให้ลงไม่เหมือนกัน ทั้้งนี้ อาจรวมไปถึงภาษาในเมนูที่ใช้ด้วย ดังนั้น การสร้าง Script ขึ้นมา จะทำให้สามารถแยก Script ตามข้อกำหนดของแต่ละหน่วยงานได้ตามที่ต้องการ จึงได้เกิดวิธีการนี้ขึ้น

การสร้าง Script นั้น มี 2 วิธีการหลักๆ
ก. สร้างขึ้นมาโดยผู้เชี่ยวชาญ
ข. สร้างโดยใช้ระบบช่วยสร้าง อย่างไรก็ดี แนะนำว่า หากใช้วิธีนี้ เมื่อได้ Script มาแล้ว เราควรเข้าไปตรวจสอบความถูกต้อง แล้วแก้ไข เพิ่มเติม ให้เหมาะสมอีกครั้งหนึ่ง

ในบทความนี้ จะแนะนำ วิธี ข. ซึ่งจะง่ายสำหรับผู้ที่ไม่ชำนาญในการสร้าง Script เอง

Instructions

เริ่มต้น จากการเข้าสู่ ลิงค์ https://config.office.com/deploymentsettings

  1. Architecture เลือกว่า เราต้องการติดตั้งแบบ 32 หรือ 64 บิต

  2. Products เลือกชุดผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับที่เราต้องการ ในที่นีั แนะนำว่า ส่วนใหญ๋ จะเลือก ในห้อข้อ Office Suites จากนั้น จึงเลือก ตัวที่เราต้องการ เช่น Office 2019 รุ่น Standard หรือ รุ่น Professional

  3. Update channel แนะนำว่า ปล่อยค่าไว้แบบนั้น ไม่ต้องแก้ไขใดๆ

  4. Apps เลือกว่า ใน Script นี้ เราจะให้ลงหรือไม่ลงโปรแกรมย่อยตัวไหนบ้าง

  5. Languages เลือกว่า เราต้องการให้เมนูหลัก เป็นภาษาใด เช่น English (United States) หรือ Thai (Thailand) แต่ถ้าไม่เลือก คาดว่า น่าจะได้เป็นภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ เราสามารถเลือกภาษาเพิ่มเติมได้ด้วย เช่น เราอาจให้ภาษาอังกฤษ เป็นภาษาหลัก และภาษาไทย เป็นภาษาเพิ่มเติม

  6. Installation จะปล่อยไว้ โดยไม่เปลี่ยนค่าก็ได้

  7. Update and upgrade ส่วนนี้ ควรสนใจเลือกว่า เราต้องการให้โปรแกรมที่เราติดตั้งไป มีการตรวจสอบและอัพเดทโดยอัตโนมัติหรือไม่ และในส่วน Upgrade ให้เราเลือกว่า ถ้าเดิมมีโปรแกรมเวอร์ชันเก่าอยู จะให้ ถอนการติดตั้งโปรแกรมไหนออกบ้างหรือไม่ อย่างไร

  8. Licensing and activation ให้ใส่คีย์ของโปรแกรมลงไป โดยเลือกคีย์ชนิด MAK เป็นหลัก ส่วนอื่นไม่สำคัญ แต่ก็เลือกเปลี่ยนได้ เช่น อาจให้ติดตั้งไปได้เลย โดยไม่ต้องหยุดถามให้กด Accept และเมื่อติดตั้งแล้ว ให้ Activate อัตโนมัติ โดยไม่ต้องกดเอง เป็นต้น

  9. General เหมือนเป็นหมายเหตุ อาจไม่ต้องใส่ก็ได้ แต่ถ้าเรามีการสร้าง Script แยก สำหรับแต่ละหน่วยงาน ควรใส่ให้ชัดเจน เวลานำไปใช้ จะได้ไม่งง

  10. Application preferences ส่วนนี้ เป็นอะไรที่หลากหลายมาก ซึ่งถ้าเราไม่ได้มีการตั้งเป้าหมายอะไรไว้ชัเเจน อาจปล่อยไป โดยไม่ต้องเปลี่ยนค่าใดๆ ก็ได้ แต่ถ้าเราต้องการ ก็ทำได้ เช่น เราอาจจะ ต้องการ ให้ Excel ใช้ Font และขนาดที่เราต้องการ เป็นหลัก ทุกครั้งที่เปิดโปรแกรมขึ้นมาใช้งาน เราก็เลือก Excel ด้านบน ตามด้วย Font ด้านล่าง แล้วใส่ ชื่อ Font และขนาดลงไปในช่องว่าง เป็นต้น

  11. เมื่อตั้งค่าทุกอย่างเสร็จแล้ว ให้กดปุม Export ที่อยู่บริเวณด้านขวาบน แล้วเลือกว่า จะตั้งชื่อไฟล์ว่าอย่างไร และเก็บวางไฟล์ไว้ที่ใด

 

ถ้ามีการสร้าง Script หลายตัว่ แนะนำให้ตั้งชื่อไฟล์ให้แตกต่างกันและจำได้ง่าย แต่หากสร้างไปใช้แค่ไฟล์เดียว อาจตั้งชื่อเป็น Configuration.xml ก็ได้